Skip Navigation Linksหน้าแรก > ข่าวทั้งหมด > ข่าว
การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ยึดโยงกับสภาพความเป็นจริง
บทความต่างๆ | 8 มีนาคม 2564 16:32:25

 

 

 

 

 

 

เย็นนี้ มีโอกาสมาช่วยเก็บเล็กผสมน้อย เติมเต็มร่วมกับบัณฑิต นักศึกษาและกลุ่มชาวบ้าน ในตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จ แพร่ ภายใต้การทำงาน. “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล”(หรือรู้จักใน 1ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)

โดยทางตัวแทนบัณฑิตได้มีการประมวลชุดข้อมูลที่มาจากการ Recheck ระบบข้อมูล (จาก Tpmap แผนจปฐ แผนพัฒนาท้องถิ่น) เพื่อพยายามเชื่อมโยงกับเป้าหมายที่ทาง อว. กำหนดไว้ 16 ประเด็น.

แน่นอนว่าผลที่ได้จากการrecheck เบื้องต้น สะท้อนให้เห็นความไม่สมมาตรของข้อมูล (Asysmmetric Information ) ที่เป็นข้อเท็จจริงในพื้นที่มากสักเท่าไรมากนัก

ขณะเดียวกันกระบวนการในการทำงานมุ่งเน้นการรวบรวมข้อมูล (จากการกำหนดของส่วนกลาง) มาก จนละเลยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ยึดโยงกับสภาพความเป็นจริง

ดังนั้นเอง ในจังหวะขับเคลื่อนต่อไป ผมจึงมีข้อเสนอเพื่อนำไปสู่การออกแบบเพื่อจัดระบบให้ชัดเจน และมีทิศทางในการทำงาน ดังนี้

1) กระบวนการคืนข้อมูลที่ได้จากการ Recheck กลับไปสู่ชุมชน เพื่อมุ่งหวังว่าจะเกิดการสะท้อนข้อเท็จจริงในบริบทของท้องถิ่น

2) การออกแบบกระบวนการรวบรวมฐานข้อมูลแบบมีส่วนร่วมใหม่ โดยเน้นการทำความพัฒนาการในเชิงประวัติศาสตร์ แผนที่ชุมชน ทรัพยากรและระบบผลิต ความสัมพันธ์เชิงสังคม เศรษฐกิจ การเมือง รวมถึงบทเรียนการขับเคลื่อนของชุมชนตำบลห้วยหมาย

3) การกำหนดสิ่งที่เรียกว่า Common Issue ของชุมชน เพื่อจะสามารถกำหนดทิศทางการยกระดับการทำงาน ผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน

4) การสร้างแผนกิจกรรมเพื่อรองรับการทำงานและการพัฒนาสิ่งที่เรียกว่า “ Prototype Productive Model”

5) การออกแบบเชื่อมโยงกับกลไกที่เรียกว่า “อว. ส่วนหน้า” ที่จะยึดโยงกับแผนพัฒนาจังหวัด ผ่านกลไก กบจ และแผนในระดับท้องถิ่น (เทศบาล อบต) ที่จะเข้ามาสนับสนุนการเคลื่อนไหวในระยะยาวของชุมชนต่อไป

แน่นอน นี้คือ “Mind set” ของผม ที่ใช้ในการวิเคราะห์และกำกับเส้นทางเดินของ 1ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ที่จะใช้ออกแบบและขับเคลื่อนในอนาคตอันใกล้นี้ ท้ายนี้ใครมีประเด็นอยากแลกเปลี่ยนเชิญชวนมาช่วยกันทำให้แหลมคมขึ้นด้วยกันนะครับ

 

อ้างอิง https://www.facebook.com/olarn.ongla